5 สัญญาณในผู้ชายและผู้หญิง ที่บอกว่าควรเข้าตรวจภาวะมีบุตรยาก
อย่าปล่อยให้ร่างกายต้องพาให้คู่ของคุณเข้าสู่ “ภาวะมีบุตรยาก” อุปสรรคเบอร์ต้น ๆ ของการวางแพลนครอบครัวที่แก้ไขได้ แต่ก็ควรป้องกัน!
แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายของคุณทั้งคู่กำลังส่งสัญญาณให้ไปตรวจภาวะมีบุตรยาก วันนี้เราจะมาบอกอาการบอกเหตุของทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย โดยลิสต์มาให้ทั้งหมด 5 ประการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังก้าวเข้าสู่วิกฤตของการวางแพลนสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ในอนาคต
ภาวะมีบุตรยาก คืออะไร?
ก่อนจะไปดูสัญญาณบ่งบอกให้คุณเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยาก อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่าภาวะดังกล่าวคืออะไร?
ภาวะมีบุตรยาก เป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะเฉพาะจากการที่ชายและหญิงไม่สามารถมีบุตรได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ตามปกติโดยไม่มีการป้องกันเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อคู่รักประมาณ 10-15% ทั่วโลก และสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านการใช้ชีวิติ และเงื่อนไขทางสุขภาพจากประวัติการแพทย์บางอย่าง
5 อาการที่บ่งชี้ว่าควรเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยาก
• รอบเดือนผิดปกติ: ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติหรือมีเลือดออกมากในระหว่างรอบเดือนอาจมีปัญหาการเจริญพันธุ์ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ปัญหาต่อมไทรอยด์ และยาบางชนิดอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
• อาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์: การมีเพศสัมพันธ์ที่เจ็บปวดหรือ dyspareunia อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าควรเข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) หรือการติดเชื้อในช่องคลอด
• จำนวนสเปิร์มต่ำ: ผู้ชายที่มีจำนวนสเปิร์มต่ำอาจมีปัญหาในการตั้งครรภ์กับคู่ของตน การวิเคราะห์น้ำเชื้อสามารถทำได้เพื่อกำหนดจำนวนและคุณภาพของอสุจิ
• การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ: ผู้ชายที่มีปัญหาในการได้รับหรือรักษาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่เร่งให้คุณต้องไปตรวจภาวะมีบุตรยาก เพราะนี่คือสิ่งที่แสดงถึงอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอาจเกิดจากสภาวะทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน
• อายุ: ทั้งชายและหญิงมีภาวะเจริญพันธุ์ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีมีความเสี่ยงสูงต่อการมีบุตรยาก ในขณะที่ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปีอาจมีจำนวนและคุณภาพของอสุจิลดลง
อย่างไรก็ตาม สาเหตุทั้ง 5 ประการนี้ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยากเสมอไป ดังนั้น ถ้าอยากจะเมคชัวร์ให้มั่นใจจริง ๆ การเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและวิธีการรักษาที่เหมาะสมอาจเป็นวิธีที่ดีมากที่สุด